SMEs 4.0 แบบเยอรมนี

ปัจจุบัน SMEs ส่วนมากในประเทศไทย ไม่ได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตระดับ 3.0 อย่างเต็มรูปแบบ ยังคงมีระบบการผลิตอยู่ในระดับ 2.0 หรือ 2.5 จึงนำไปสู่คำถามสำคัญว่า ควรข้ามขั้นไปสู่ระดับ 4.0 หรือควรพัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป

Digital literacy ทักษะพื้นฐานในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอนาคต

ทักษะด้านดิจิทัลมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี จากการจัดอันดับความสามารถในการสร้างบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ World Talent Report โดยสถาบัน IMD พบว่าในปี 2017 ประเทศไทยตกมาอยู่ในอันดับที่ 42 จากเดิมในปี 2016 อยู่ในอันดับที่ 37 ดังนั้นประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะและความสามารถสอดรับกับความต้องการของภาคธุรกิจในอนาคต

ผลิตภาพแรงงานกับผลตอบแทนแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต

การเพิ่มผลิตภาพแรงงานเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ และส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิตของประชากรผ่านรายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชากรที่เพิ่มขึ้น แต่กลับพบว่าช่องว่างระหว่างการเพิ่มผลิตภาพแรงงานกับผลตอบแทนแรงงานมากขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องทำการศึกษาสัดส่วนผลตอบแทนของแต่ละปัจจัยการผลิตแต่ละชนิด ซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละอุตสาหกรรม

ผลิตภาพในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงสู่อุตสาหกรรม 4.0

เทคโนโลยี I4.0 จะทำให้อุตสาหกรรมเติบโตและมีผลิตภาพสูงขึ้นอย่างมาก จากต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง และประสิทธิภาพที่สูงขึ้น และยังส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ รวมถึงการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ ดังนั้นการเปลี่ยนผ่านสู่ I4.0 จะต้องมีการกำหนดเป้าหมาย และวางแผนเตรียมพร้อมที่เหมาะสม โดยเฉพาะเตรียมบุคลากรที่มีความรู้และทักษะเพียงพอที่จะใช้เทคโนโลยีได้ในที่สุด

การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาองค์กร : กรณีศึกษาแนวทางการปฏิบัติที่ดี บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน)

เป็นกรณีตัวอย่างในการใช้หลักการจัดการความรู้ (Knowledge Management; KM) เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถเพิ่มขึ้น และสามารถพัฒนาผลงานให้มีประสิทธิภาพ มุ่งสู่เป้าหมายในการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) เพื่อการเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน

ยกระดับผลิตภาพด้วย TPM : บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)

เป็นกรณีตัวอย่างในการประยุกต์ใช้เครื่องมือการบำรุงรักษาทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วม (Total Productivity Maintenance; TPM) เพื่อลดความสูญเสียในการบวนการผลิต ทำให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยพนักงานทุกระดับมีส่วนร่วมด้วยการทำกิจกรรมกลุ่มย่อย

ไต้หวันกับผลิตภาพ 4.0 (Productivity 4.0) ความฝันใหญ่บนเกาะเล็ก

ไต้หวันได้ให้มุมมองการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ว่าจะเป็นกลยุทธ์สำคัญในการยกระดับผลิตภาพในบริบทใหม่ เนื่องจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม 4.0 จะมีความชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งช่วยให้สามารถผลิตสินค้าและบริการที่มีความหลากหลายแตกต่างตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะรายโดยใช้แรงงานคนน้อยลง สอดคล้องกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศ ดังนั้น อุตสาหกรรม 4.0 ในไต้หวันจึงใช้ชื่อเรียกว่าผลิตภาพ 4.0 (Productivity 4.0)