Productivity Movement ในแบบฉบับเวียดนาม

ทำไมเวียดนามจึงมีอัตราการเติบโตของผลิตภาพแรงงานสูงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน❓
ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้อัตราการเติบโตของผลิตภาพแรงงานสูงขึ้น รวมถึงก้าวต่อไปของเวียดนามในการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ดังนั้น ไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านและคู่แข่งจะต้องเผชิญกับความท้าทายและการเตรียมรับมือให้พร้อมกับการแข่งขันในอนาคต

Sustainable Productivity แนวทางการเพิ่มผลิตภาพอย่างยั่งยืน

Sustainable Productivity เป็นแนวคิดที่ตอบโจทย์การผลิตในอนาคต เพราะให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิตที่ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ในขณะที่รักษาคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัย เป็นการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทำให้ปัจจุบันองค์กรจำนวนมากให้ความสำคัญกับ “ความยั่งยืน” และเป็นเป้าหมายสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์และการดำเนินงานเพื่อเพิ่มการเติบโตและความสามารถในการแข่งขัน

องค์กรจะทำอย่างไรเมื่อ Quiet Quitting ไม่ใช่แค่เทรนด์

Quiet Quitting ไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นและเป็นแค่เทรนด์ระยะสั้นๆ ทว่า Quiet Quitting กำลังจะกลายเป็น New Normal ในโลกการทำงานยุคใหม่ที่องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องยอมรับ ดังนั้น องค์กรจะต้องมีการวางแผนล่วงหน้าในการเตรียมรับมือกับแนวโน้มดังกล่าว เพื่อลดผลกระทบและรักษาผลิตภาพและความสามารถในการทำกำไรขององค์กรในระยะยาว รวมถึงการสร้างแรงจูงใจเพื่อให้พนักงานเกิดความทุ่มเทในการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ

เตรียมพร้อมรับมือในภาวะวิกฤต เพื่อก้าวผ่านสู่องค์กรที่ยั่งยืน

ภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจโลก ทำให้องค์กรต่างต้องหันมาให้ความสำคัญและมุ่งหาแนวทางเพื่อความอยู่รอดจากความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น ดังนั้นปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบและการเตรียมรับมือกับสถานการณ์วิกฤตจึงเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรจำเป็นต้องเรียนรู้

FOMO ศัตรูตัวฉกาจของคนทำงานยุคใหม่

FOMO (Fear of Missing Out) เป็นพฤติกรรมของคนทำงานยุคใหม่ที่มีความกลัวที่จะพลาดบางสิ่งบางอย่าง เช่น ข่าว กระแสความนิยม หรือเทรนด์ต่างๆ แล้วจะไม่ได้รับการยอมรับ จนใช้เวลาจำนวนมากไปกับการเสพข้อมูลที่ “เกินความจำเป็น” ปัจจุบัน FOMO กำลังกลายเป็นพฤติกรรมของคนส่วนใหญ่และส่งผลเสียทำให้ Productivity ในการทำงานลดต่ำลง

รู้จัก Toxic Productivity: ภาวะคลั่งไคล้ความ Productive ของคนทำงานยุค New-Normal

ในช่วงภาวะวิกฤตที่ทุกคนต่างพยายามทำงานให้เกิด Productivity มากที่สุด จนทำให้ตกอยู่ในสภาวะ Toxic Productivity ซึ่งเกิดจากแรงกดของสังคมและสภาวะแวดล้อมที่กระตุ้นให้เราทำงานหนักมากขึ้น เพราะกลัวจะสูญเสียงานและรายได้ไป จนไม่มีเวลาหยุดพักทั้งร่างกายและจิตใจ จนส่งผลเสียต่อการทำงานและการใช้ชีวิตในที่สุด

มัดใจ Gen Z เพื่อขับเคลื่อนอนาคตองค์กร

ปัจจุบันองค์กรต้องเผชิญกับการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อให้การทำงานที่บ้านมีประสิทธิภาพ ประกอบกับบริบทสังคมที่คนกลุ่ม Gen Z เริ่มเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น ดังนั้น การรู้จัก Gen Z เพื่อรับรู้วิธีขับเคลื่อนผลิตภาพการทำงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID 19 จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่งขององค์กรต่าง ๆ ในช่วงเวลานี้

การวิเคราะห์ศักยภาพองค์กรไทย พร้อมหรือไม่? กับการก้าวเข้าสู่โลกดิจิทัล

ด้วยความก้าวล้ำของเทคโนโลยีดิจิทัล ทำให้องค์กรต้องใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนธุรกิจให้ส่งมอบสินค้าและบริการที่กว้างขึ้น สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด แต่การจะก้าวเข้าสู่การแข่งขันในยุคดิจิทัลได้นั้น ต้องถามว่า เรามีความพร้อมด้านดิจิทัลมากน้อยแค่ไหน….

ผลิตภาพในที่ทำงาน กุญแจไขความสำเร็จขององค์กร

ในโลกแห่งความไม่แน่นอนทุกวันนี้ ผลิตภาพกลายเป็นประเด็นที่มีความสำคัญมากขึ้นต่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ทุกองค์กรต่างพยายามหาวิธีการเพิ่มผลิตภาพในการทำงาน แต่ไม่ใช่ทุกองค์กรจะประสบความสำเร็จ ดังนั้นการทราบปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเพิ่มผลิตภาพในที่ทำงาน จะช่วยให้องค์กรมีแนวทางในปรับปรุง เพราะผลิตภาพไม่ใช่การทำให้ภาระงานเพิ่มมากขึ้น แต่เป็นการสร้างผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ด้วยภาระงานที่น้อยที่สุด

ความสามารถในการแข่งขันของไทยดีขึ้นแล้วจริงหรือ?

ในปี 2019 IMD ได้จัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยดีขึ้น อย่างไรก็ดีในด้านผลิตภาพแรงงานของไทยกลับอยู่อันดับท้าย ๆ ของกลุ่ม อีกทั้งในด้านความพร้อมและความตระหนักต่อการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล ประเทศไทยก็ถูกจัดอยู่ในอันดับท้ายๆ ของกลุ่มเช่นกัน จึงเป็นที่น่ากังวลว่าไทยจะสามารถก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหรือไม่

1 2