Industry 4.0 Knowledge

Industry 4.0 Knowledge

4 ฉากทัศน์ของ ChatGPT

ChatGPT เป็น AI ที่มีระบบประมวลผลและสามารถตอบสนองได้เหมือนมนุษย์ และกำลังเข้ามามีบทบาทในภาคธุรกิจ ดังนั้นบทวิเคราะห์เรื่องนี้จะเป็นการคาดการณ์ถึงแนวโน้ม โอกาสและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการเข้ามาของ ChatGPT เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้ และเข้าใจการใช้งาน ChatGPT รวมถึงการเตรียมความพร้อมและรับมือในการตอบสนองต่อโอกาสและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น

ความท้าทายการปกป้องตัวตนใน METAVERSE

Metaverse เป็นหนึ่งในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นโลกเสมือนจริงที่นวัตกรรมดิจิทัลต่างๆ ถูกรวมเข้าไว้ด้วยกันเพื่อมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้ใช้ แต่ก็ยังเป็นความท้าทายในเรื่องการรับรองความปลอดภัยทางไซเบอร์ของผู้ใช้ โดยเป้าหมายสำคัญคือ การปกป้องตัวตนดิจิทัลใน Metaverse

ตอบโจทย์ ESG ด้วยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง

ปัจจุบันเมกะเทรนด์เพื่อโลกสีเขียวเป็นที่กล่าวถึงและให้ความสำคัญอย่างมาก ดังนั้น ESG จึงมีบทบาทมากในการดำเนินธุรกิจ แต่จะทำอย่างไรให้องค์กรบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ก้าวให้พ้นกับดักของ Industry 4.0

นับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ Industry 4.0 ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การทำ Industry 4.0 กลายเป็นความจำเป็นในการแข่งขันทุกวันนี้ และทำให้แต่ละองค์กรต่างทุ่มเทงบประมาณและทรัพยากรจำนวนมากเพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้เวลาจะผ่านมากว่า 10 ปีแล้ว แต่องค์กรที่ประสบความสำเร็จในการทำ Industry 4.0 กลับมีจำนวนน้อยจนน่าตกใจ ดังนั้นทำอย่างไรองค์กรต่าง ๆ จึงก้าวพ้นกับดักในการทำ Industry 4.0 นี้ไปได้

Smart Manufacturing ทางรอดอุตสาหกรรมยุค New Normal

ในภาวะวิถีปกติใหม่ หรือ New normal ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ไม่เพียงแต่รูปแบบการดำเนินชีวิต แต่ยังส่งผลถึงการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ นับเป็นความท้าทายและโอกาสที่อุตสาหกรรมจะต้องเผชิญ รวมถึงความไม่แน่นอนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมต้องเตรียมรับมือและวางแผนกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่นสำหรับอนาคต

Remote Working ตอบโจทย์การทำงานยุค Next Normal

ในภาวะที่ธุรกิจต้องก้าวเข้าสู่ Next Normal การปรับตัวให้เท่าทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัญ หลายองค์กรต้องเผชิญความกดดันทั้งในเรื่องต้นทุน พฤติกรรมผู้บริโภค รวมถึงการเข้ามาของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เป็นตัวเร่งให้องค์กรต้องขับเคลื่อน ทำให้การทำงานระยะไกล หรือ Remote Working เป็นอีกรูปแบบการทำงานที่มีแนวโน้มที่จะมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

Industry 5.0 เตรียมพร้อมสู่ยุค Cobots ก้าวใหม่ที่สำคัญแห่งโลกอนาคต

การก้าวเข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 5 หรือ Industry 5.0 เป็นแนวคิดที่มนุษย์และหุ่นยนต์จะได้ทำงานร่วมกันมากขึ้น โดยที่นิยามของหุ่นยนต์จะเปลี่ยนไป เนื่องจากหุ่นยนต์จะไม่ใช่แค่โปรแกรมที่ทำตามคำสั่งเดิมๆที่ถูกตั้งค่าเอาไว้ แต่จะถูกเรียกใหม่ว่า “Cobots” (robot รวมกับ collaboration with human) ที่สามารถทำตามความคาดหวังของมนุษย์ได้

วางกลยุทธ์อุตสาหกรรม 4.0 อย่างไรไม่ให้เสีย

การวางกลยุทธ์อุตสาหกรรม 4.0 อย่างไรไม่ให้เสียในที่นี้ หมายถึง ไม่ให้เสีย “โอกาส” ในแง่ของเวลา หรือ เม็ดเงินลงทุนที่ผู้ประกอบการต้องเสียไป แล้วไม่เกิดผลตอบแทนกลับมาได้เท่าที่ควรจะเป็น ดังนั้น ก่อนที่องค์กรจะลงทุนเพื่อก้าวไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างเป็นระบบ องค์กรจึงจำเป็นต้องประเมินสถานะความพร้อมด้านอุตสาหกรรม 4.0 ของตนเอง

อนาคตอุตสาหกรรมไทยภายใต้ความเสี่ยง

โลกก้าวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 อย่างเต็มรูปแบบ การผลิตจะไม่ได้แข่งขันกันแค่ขนาดและความซับซ้อนในการผลิต แต่จะเปลี่ยนโฉมไปสู่การแข่งขันกันที่ความเร็ว เทคโนโลยี และความยืดหยุ่นในการปรับตัวต่อความไม่แน่นอนต่าง ๆ แล้วอนาคตอุตสาหกรรมไทยจะเป็นอย่างไร

การวัดผลิตภาพของ Collaborative Robot

เมื่อมาถึงจุดที่ประเทศไทยจะต้องปรับเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรม 4.0 คงไม่อาจปฏิเสธเพื่อนร่วมงานใหม่อย่าง Collaborative Robot (Cobot) และในเมื่อเราถูกวัดผลการปฏิบัติงานด้วย KPIs เพื่อนใหม่ของเราก็ต้องถูกวัดด้วยเช่นกัน แล้ว KPIs แบบใดที่จะเหมาะสมกับการวัดสมรรถนะของ Cobot

สร้างอนาคตสไตล์เกาหลีใต้ ด้วย Manufacturing Innovation 3.0

ตั้งแต่ปี 2014 กระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และพลังงาน (Ministry of Trade, Industry and Energy) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบด้านเศรษฐกิจของประเทศ ได้เริ่มประกาศนโยบายระดับชาติภายใต้ชื่อ Manufacturing Innovation 3.0 โดยผสมผสานแนวคิดเรื่อง Industry 4.0 ของเยอรมนี เข้ามาเพื่อเติมเต็มนโยบายเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และคงความได้เปรียบในการแข่งขันยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

ไต้หวันกับผลิตภาพ 4.0 (Productivity 4.0) ความฝันใหญ่บนเกาะเล็ก

ไต้หวันได้ให้มุมมองการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ว่าจะเป็นกลยุทธ์สำคัญในการยกระดับผลิตภาพในบริบทใหม่ เนื่องจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม 4.0 จะมีความชาญฉลาดและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งช่วยให้สามารถผลิตสินค้าและบริการที่มีความหลากหลายแตกต่างตามความต้องการของลูกค้าเฉพาะรายโดยใช้แรงงานคนน้อยลง สอดคล้องกับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศ ดังนั้น อุตสาหกรรม 4.0 ในไต้หวันจึงใช้ชื่อเรียกว่าผลิตภาพ 4.0 (Productivity 4.0)

เยอรมนี ผู้เปลี่ยนโลกสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

ทุกวันนี้การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาธุรกิจกลายเป็นความท้าทายระดับ Do It or Die ที่ทั่วโลกต้องก้าวไปให้ถึง ทุกประเทศชั้นนำ เช่น สหรัฐ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ รวมถึงประเทศไทยภายใต้นโยบาย  Thailand 4.0 ต่างพยายามเร่งแข่งขันกันใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อสร้างความได้เปรียบ จนกระทั่งรัฐบาล นักธุรกิจ และนักวิชาการทั่วโลกต่างยอมรับว่า โลกกำลังเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งผู้จุดประกายให้ทั้งโลกตื่นตัวต่อเรื่องนี้ นั่นคือ เยอรมนี

ประโยชน์ของอุตสาหกรรม 4.0

การนำอุตสาหกรรม 4.0 มาใช้จะสามารถทำให้ต้นทุนขององค์กรลดลง และทำให้ประสิทธิภาพขององค์กรเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการมุ่งเน้นในสมรรถนะหลักของตนเอง การลดความซ้ำซ้อนของกระบวนการ สินค้ามีคุณภาพสูงขึ้น และความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนสายการผลิต

แนวคิดอุตสาหกรรม 4.0

อุตสาหกรรม 4.0 ไม่ได้หมายถึงนวัตกรรมในด้านเทคโนโลยี แต่เป็นการเปลี่ยนมุมมองพื้นฐานใน 5 เรื่องสำคัญ ได้แก่ 1) Vertical and Horizontal Integration 2) Decentralized Control 3) Consistent Digital Engineering 4) Decentralized Intelligence 5) Cyber-Physical Production Systems

วิวัฒนาการของอุตสาหกรรม

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โลกมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการและระบบในการผลิตสินค้าหรือที่เรียกว่า การปฎิวัติอุตสาหกรรมที่สำคัญ 4 ครั้ง ตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมระยะที่ 1 จนถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4